สารชีวโมเลกุล biomolecule หมายถึง สารอินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตสังเคราะห์ขึ้นเท่านั้น เช่น ไขมัน น้ำมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต กรดนิวคลีอิก จัดเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย มีโมเลกุลตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่มาก มีธาตุไฮโดรเจนและคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลักแต่ละชนิดมีโครงสร้าง สมบัติและปฏิกิริยาที่ต่างกัน ทำให้มีหน้าทีและประโยชน์ต่อร่างกายแตกต่างกันไป
ความหมายของสารชีวโมเลกุล
ลักษณะที่สำคัญของสารชีวโมเลกุลเป็นดังนี้
ประกอบด้วยธาตุขนาดเล็ก มีมวลโมเลกุลต่ำ เช่น C, H, O, N, S, P ธาตุชนิดอื่นมีพบบ้าง (เช่น Fe, Cu, Zn) แต่จัดว่าน้อยเมื่อเทียบกับน้ำหนักของร่างกาย แต่ก็มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตด้วย เป็นสารประกอบของคาร์บอน โดยคาร์บอนจะเชื่อมต่อกันด้วยพันธะโควาเลนต์เกิดเป็นโครงร่างคาร์บอน จากนั้นอะตอมอื่นๆจะเติมเข้ามาในโครงร่างคาร์บอนนี้ อะตอมที่เติมเข้ามาเรียกว่าหมู่ฟังก์ชัน (functional group) ซึ่งเป็นตัวกำหนดลักษณะเฉพาะของโมเลกุลนั้นๆ
สารชีวโมเลกุลจะมีโครงสร้างสามมิติซึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำงานสารชีวโมเลกุลส่วนใหญ่อยู่ในรูปอสมมาตร
สารชีวโมเลกุลจะเกิดจากหน่วยขนาดเล็ก (monomer) ที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกัน จัดเรียงตัวเป็นโมเลกุลที่ใหญ่ขึ้น (polymer) การรวมตัวกันนี้ต้องใช้พลังงาน ส่วนการย่อยสลายโพลีเมอร์จะได้พลังงาน
สารชีวโมเลกุล
Blog นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาเรื่องราวของสารชีวโมเลกุล
วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555
ประเภทของสารชีวโมเลกุล
ประเภทของชีวโมเลกุล
ชีวโมเลกุลขนาดต่างๆ ที่พบในธรรมชาติมีดังนี้:
โมเลกุลขนาดเล็ก:
ชีวโมเลกุลขนาดต่างๆ ที่พบในธรรมชาติมีดังนี้:
โมเลกุลขนาดเล็ก:
- ลิพิด, ฟอสโฟลิพิด, ไกลโคลิพิด, สเตอรอล
- ไวตามิน
- ฮอร์โมน, นิวโรทรานสมิตเตอร์
- คาร์โบไฮเดรต, น้ำตาล
- ไดแซคคาไรด์
- โมโนเมอร์:
- กรดอะมิโน
- นิวคลีโอไทด์
- ฟอสเฟต
- โมโนแซคคาไรด์
- พอลิเมอร์:
- เปปไทด์, โอลิโกเปปไทด์, พอลิเปปไทด์, โปรตีน
- กรดนิวคลีอิก, ได้แก่ DNA, RNA
- โอลิโกแซคคาไรด์, พอลิแซคคาไรด์
- แมคโครโมเลกุล:
- พรีออน (Prion)
- เอนไซม์
วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)